วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

คำศัพท์ด้านระบบเครือข่าย

1.คำศัพท์ด้านระบบเครือข่าย
1.1  Protocol คือ ระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับการสื่อสารข้อมูล โดยสามารถส่งผ่านข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง ซึ่งตัวโปรโตคอลที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ TCP/IP นอกจากนี้ยังมีการออกแบบโปรโตคอลตัวอื่นๆขึ้นมาใช้งานอีก
1.2  Telnet คือ  โปรแกรมสำหรับการเข้าใช้ระบบจากระยะไกล  โดยผู้ที่จะเข้าไปใช้ระบบนั้นได้ จะต้องมี account อยู่บนระบบนั้นก่อน
1.3 Hacker คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ เป็นอย่างมาก จนถึงระดับที่สามารถถอดหรือเจาะรหัสระบบรักษาความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคนอื่นได้ โดยมีวัตถุประสงค์ในการทดสอบขีดความสามารถของตนเอง หรือทำในหน้าที่การงานของตนเอง
1.4 port คือ เลขฐาน 16 บิต ตั้งแต่ 0 ถึง 65535 หมายเลข port แต่ละหมายเลขจะถูกกำหนดโดยเฉพาะจาก OS (Operating Systems) ทาง Internet Assigned Numbers Authority (IANA) เป็นหน่วยงานกลางในการประสานการเลือกใช้ Port ว่า Port หมายเลขใดควรเหมาะสำหรับ Service ใด
1.5 NAT คือ เป็นทางเลือกอย่างหนึ่งในการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่อง ที่นับว่ามีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการค่อนข้างต่ำ และมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง  NAT จะมีแนวโน้มของราคาต่ำลง
1.6  FTP คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบ FTP หมายถึง การดาวน์โหลด หรือย้ายไฟล์ในระบบอินเตอร์เน็ตมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกันก็สามารถนำไฟล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปไว้ในพื้นที่เก็บข้อมูลโดยผ่านโปรแกรม FTP สามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้หลายประเภทแล้วแต่ว่าผู้ใช้จะต้องการใช้งานไฟล์ประเภทใด จุดเด่นสามารถนำไปใช้รวมกับระบบการการทำเว็บไซต์ , เป็นช่องทางเก็บหรือส่งข้อมูลหาลูกค้าหรือภายในองค์กรได้ ที่ webmaster ใช้ นั่นคือ การ ftp อัพไฟล์ ขึ้นโฮส
1.7 Static Route คือ การกำหนดค่าแบบค่งที่เข้าไปในตัวเร้าเตอร์ เพื่อบอกให้เร้าเตอร์ทราบว่าหากต้องการจะส่งแพ็กเก็ตไปยังซับเน็ตแอดเดรสต่างๆจะต้องส่งไปหาเร้าเตอร์ตัวถัดไป(Next Hop Address) ตัวไหน หรือจะให้เร้าเตอร์ส่งออกไปทางอินเตอร์เฟซใด ซึ่งวิธีการนี้หากมีเร้าเตอร์จำนวนมากและมีซับเน็ตแอดเดรสต่างๆจำนวนมาก ผู้ดูแลเน็ตเวิร์กก็จะต้องใช้เวลามากในการค่อยๆเพิ่ม Static Route เข้าไปในเร้าติ้งเทเบิลของเร้าเตอร์ทุกตัวด้วยตัวเอง แต่วิธีการนี้ค่า AD หรือค่าลำดับความสำคัญสูงกว่าแบบ ไดนามิกเร้าติ้ง คือ จะพิจารณาสแตติกเร้าก่อนพิจารณาเส้นทางจากไดนามิกเร้า
1.8 Mobile Device คือ อุปกรณ์ขนาดเล็กที่สามารถพกพาได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่อง PDA และ Notebook
1.9 Mobile Device คือคือวิธีการคุยคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นบนอินเตอร์เนต
คอมพิวเตอร์ส่งแฟ้มเล็กๆซึ่งบรรจุข้อมูลให้อะไรก็ตาม
ความต้องการคอมพิวเตอร์ (ในกรณีของเกม, เครื่องเซิฟเวอร์). แฟ้มเหล่านี้คือ Packet ที่เรียก.
ยกตัวอย่าง Packet เป็นเสียงระหว่างการสนทนาโทรศัพท์.
คุณพูดเข้าไปในโทรศัพท์, โทรศัพท์แปลงเสียงของคุณเข้าไปใน "Packet" ของ electricty
และส่งมันข้ามให้เพื่อนของคุณ "เครื่องเซิฟเวอร์." หนึ่งครั้งที่นั่น, โทรศัพท์ "เครื่องเซิฟเวอร์"
ถอดรหัส Packet และผ่านพวกเขาให้เพื่อนของคุณ.
1.10 DNS Server คือ Domain Name System server เป็นเครื่องบริการแปลงชื่อเว็บเป็นหมายเลข IP ซึ่งการแปลงชื่อนี้อาจเกิดในเครื่อง local เอง จาก cache ในเครื่อง local หรือจากเครื่องบริการของผู้ให้บริการ

คุณสมบัติของสถาปัตยกรรมเครือข่าย 4 ประการ

คุณสมบัติของสถาปัตยกรรมเครือข่าย 4 ประการ
Fault Tolerance
      คุณสมบัติของระบบที่ทำให้ระบบสามารถปฏิบัติงาน ต่อไปได้แม้ว่าจะมีองค์ประกอบภายในบางอย่างเสียหาย หรือถ้าหากประสิทธิภาพการทำงานของระบบลดลงเนื่องจากความเสียหายภายใน ความสามารถที่ลดลงก็จะสอดคล้องกับความเสียหายภายในที่เกิดขึ้น ต่างจากระบบที่ไม่มี Fault Tolerance ซึ่งระบบทั้งหมดสามารถล้มเหลวโดยสิ้นเชิงได้เพียงเพราะความเสียหายที่เล็ก น้อยก็ตาม ตัวอย่างของ Fault Tolerance ในแง่ของคอมพิวเตอร์
-Scalability
     คือความสามารถในการรองรับและต่อขยายระบบ SCADA กับส่วนต่าง ๆ
-Quality of Service
       เป็นตัวกำหนดชุดของคุณสมบัติของประสิทธิภาพของการติดต่อ หรือเรียกว่าเป็นการส่งข้อมูลในเครือข่ายโดยรับประกันว่าการส่งข้อมูลจะเป็น ไปตามคุณภาพหรือเงื่อนไขที่ต้องการ
-Security
      สภาพที่เกิดขึ้นจากการจัดตั้งและดำรงไว้ซึ่งมาตราการการป้องกันที่ทำให้เกิดความมั่นใจว่าจะไม่มีผู้ที่ไม่หวังดีจะบุกรุกเข้ามาได้

ความแตกต่างระหว่างการส่งข้อมูลแบบ UDP และ TCP

ความแตกต่างระหว่างการส่งข้อมูลแบบ UDP และ TCP
UDP =  เป็นการส่งข้อมูลที่ไม่มีการยืนยันการรับส่งข้อมูล คือผู้ส่งไม่สามารถรู้ได้ว่าข้อมูลได้ถึงผู้รับแล้วหรือไม่ เราจะต้องเขียนการตรวจสอบข้อมูลเอาเอง เช่น ถ้าผมส่งข้อมูลไป ถ้าฝั่งที่รับข้อมูลได้รับข้อมูลแล้ว ก็ให้ตอบกลับมาให้ผม ผมก็ทราบแล้วว่าข้อมูลไปถึง แต่ถ้าไม่มีการตอบกลับภายในระยะเวลาที่ผมกำหนด ก็ให้แจ้งว่าผู้รับไม่ได้รับข้อความ
Transmission Control Protocol (TCP, ทีซีพี) = เป็นหนึ่งในโปรโตคอลหลักในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หน้าที่หลักของทีซีพี คือ ควบคุมการรับส่งข้อมูลระหว่างโฮส ถึง โฮส ในเครือข่าย เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยตัวโปรโตคอลจะรับประกันความถูกต้อง และลำดับของข้อมูลที่ส่งผ่านระบบเครือข่าย นอกจากนั้นทีซีพียังช่วยจำแนกข้อมูลให้ส่งผ่านไปยังแอปพลิเคชัน ที่ทำงานอยู่บนโฮสเดียวกันให้ถูกต้องด้วย

หน้าที่ของแต่ละชั้นของ TCP/IP Model

         ขั้นการเชื่อมต่อ
ชั้นการเชื่อมต่อ หรือ Link layer สามารถเทียบได้กับชั้นที่ 1 และ 2 ในโครงสร้างแบบ โอเอสไอ เป็นลำดับชั้นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับระบบอินเทอร์เน็ตโดยตรง แต่เป็นระบบพื้นฐานของการเชื่อมต่อที่ระบบอินเทอร์เน็ตใช้ส่งข้อมูลภายใน เครือข่ายหน้าที่ของชั้นนี้สำหรับการส่งข้อมูล เนื่องจากตัวแบบ ทีซีพี/ไอพี ไม่ได้กำหนดมาตรฐานในข้อตอนนี้อย่างมากนัก กำหนดไว้เพียงว่าให้สามารถส่งข้อมูลสู่เครือข่ายได้เท่านั้น ทำให้ไม่สามารถระบุเนื้อหาหน้าที่ที่ชัดเจนได้ ดังนั้นจึงอาจจะยกระบบของ โครงสร้างแบบ โอเอสไอทั้งสองชั้นแรกมาซึ่งได้แก่การจัดเตรียมข้อมูลเพื่อให้เหมาะสมก่อนที่จะส่งไปตามสายส่งไปยังที่หมายปลายทาง ซึ่งได้แก่การจัดเตรียมPacket Header การควบคุมระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จะใช้ในการจัดส่ง เช่น การเชื่อมต่อกับNetwork card และการใช้งาน Device Driver หน้าที่สำหรับการรับข้อมูลคือ คอยรับกรอบของข้อมูลที่ได้รับ นำข้อมูลส่วนหัวออกมา และจัดเตรียมข้อมูลเพื่อส่งต่อไปยังชั้นเครือข่าย
          ชั้นอินเทอร์เน็ต
ชั้นอินเทอร์เน็ต หรือ Internet Layer เทียบได้กับชั้นที่ 3 ซึ่งคือ Network Layer ในโครงสร้างแบบ โอเอสไอ เป็นชั้นที่มีหน้าที่ส่งข้อมูลจากจุดเริ่มต้นไปยังปลายทาง โดยหาเส้นทางที่ข้อมูลจะใช้เดินทางผ่านเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่าย หนึ่งจนกระทั่งถึงปลายทางโปรโตคอลที่ใช้ในชั้นนี้คือ อินเทอร์เน็ตโปรโตคอล หรือ ไอพี ทำหน้าที่เปรียบเสมือนซองจดหมายซึ่งระบุถึงที่อยู่ของต้นทางและปลายทาง โดยมีบุรุษไปรษณีย์ทำหน้าที่ส่งจดหมายนั้นผ่านกรมการไปรษณีย์ในพื้นที่ต่าง ๆ จนถึงจุดหมายปลางทาง ที่อยู่บนซองจดหมายในอินเทอร์เน็ตโปรโตคอลเรียกว่า หมายเลขไอพี ที่ทำการไปรษณีย์คือเราเตอร์ที่ทำหน้าที่ค้นหาเส้นทางที่เหมาะสมเพื่อส่งข้อมูลไปตามสายส่งจนกระทั่งถึงปลายทาง
          ชั้นขนส่ง
ชั้นขนส่ง หรือ Transport layer เทียบได้กับชั้นที่ 4 ในโครงสร้างแบบ โอเอสไอ เป็นชั้นที่มีหน้าที่ควบคุมการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์สอง เครื่องที่ติดต่อกัน ซึ่งอาจแบ่งได้สองลักษณะคือ บริการการส่งข้อมูลแบบที่สถาปณาการเชื่อมต่อ และบริการการส่งข้อมูลแบบไม่สถาปณาการเชื่อมต่อ และจัดส่งข้อมูลไปยังapplicationที่ต้องการข้อมูลโปรโตคอลที่นิยมใช้ในชั้นนี้ได้แก่ TCP, UDP, RTP
         ชั้นการประยุกต์ใช้งาน
ชั้นการประยุกต์ใช้งาน หรือ Application layer เทียบได้กับชั้นที่ 5 ถึง 7 ในโครงสร้างแบบ โอเอสไอ จะครอบคลุมบริการที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย การเข้ารหัส การเชื่อมต่อระหว่างโปรแกรมประยุกต์ และเป็นชั้นที่โปรแกรมประยุกต์ใช้งานโดยตรง โดยโปรโตคอลที่อยู่บนชั้นนี้จะถูกออกแบบให้เหมาะสำหรับประเภทของโปรแกรมประยุกต์เฉพาะทาง เช่น โปรแกรมอีเมลใช้โปรโตคอล SMTP สำหรับส่งอีเมล ใช้โปรโตคอล POP3 สำหรับรับและเรียกดูอีเมล, ส่วนโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ใช้โปรโตคอล HTTP สำหรับเรียกดูเว็บเพจ เป็นต้น

โครงสร้างลำดับขั้นการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย

          โครงสร้างลำดับขั้นการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย 

       Core Layer
                   เป็นจุดศูนย์กลางและหัวใจหลักของเน็ตเวิร์ก ทำหน้าที่เชื่อมต่อ Distribution Layer หลายๆตัวจุดเข้าไว้ด้วยกัน เลเยอร์นี้ควรสามารถรับส่งแพ็กเก็ตได้อย่างรวดเร็วมาก อย่างไรดีในบางเน็ตเวิร์ก อุปกรณ์ที่ทำงานในเลเยอร์ Core Layer กับ Distribution Layer อาจเป็นตัวเดียวกันก็ได้คือมีสวิตช์ตัวหลักหนึ่งตัวที่ทำหน้าที่เป็น Core Switch และมีสวิตช์ปลายทางหลายๆตัวทำหน้าที่เป็น Access Switch

                Distribute Layer
                           เป็นจุกรองรับการเชื่อมต่อจาก Access Layer หลายๆจุดเข้าด้วยกัน และผ่านต่อไปยัง Core Layer สำหรับ LAN และ Campus Network อุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในเลเยอร์นี้มักเป็นสวิตช์ที่มีประสิทธิภาพ มีฟีเจอร์ขั้นสูงพอสมควรและมีจำนวนพอร์ตมากพอสำหรับรองรับการเชื่อมโยงไปยังสวิตช์ที่ทำงานใน Access Layer สวิตช์ในเลเยอร์นี้ถือได้ว่าเป็นเสมือน จุดศูนย์รวม ของสวิตช์ต่างๆที่อยู่ในเลเยอร์ Access Layer เพื่อให้ผู้ใช้ที่เชื่อมต่อเข้ากับสวิตช์ใน Access Layer ตัวหนึ่งสามารถพูดคุยและสื่อสารกันกับผู้ใช้ที่เชื่อมต่อเข้ากับสวิตช์ตัวอื่นๆ ใน Access Layer ได้ภายในสวิตช์ที่อยู่ใน Distribution Layer นี้ควรมีการอิมพลีเมนต์ฟีเจอร์อย่างเช่น InterVLAN Routing ,Access Control List หรือรวมไปถึง QoS และ Policy ต่างๆในการใช้งานเน็ตเวิร์กด้วย สวิตช์ที่ทำงานในเลเยอร์นี้มักเป็นสวิตช์เลเยอร์ 3
-           Access Layer
                       จะเป็นเลเยอร์ที่ใกล้ชิดติดกับผู้ใช้มากที่สุด เป็นจุดที่นำเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เข้าสู่ระบบเครือข่าย สำหรับ LAN และ Campus Network อุปกรณ์ที่ทำงานอยุ่ในเลเยอร์นี้มักเป็นสวิตซ์เลเยอร์ 2 ตัวเล็กๆที่มีจำนวนพอร์ตที่เพียงพอต่อการรองรับการเชื่อมต่อจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ผ่านทางสายเคเบิล เช่น UTP สวิตช์ที่ว่านี้จำเป็นต้องมีพอร์ต UPLINK เพื่อเชื่อมโยงขึ้นไปนังสวิตช์ที่อยู่ในระดับ Distribution Layer หรือมีระดับ Core Layer (แล้วแต่การออกแบบ)ความเหมาะสมของอุปกรณ์ที่ทำงานในเลเยอร์นี้คือ ควรมีต้นทุนของอุปกรณ์ที่ต่ำ ยังไม่จำเป็นต้องมีฟีเจอร์ขั้นสูงมากนัก และควรติดตั้งได้ง่ายใช้เวลาไม่นาน

หน้าที่หลักของ Router

Router ถือเป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่สำคัญในระดับ WAN และมีส่วนประกอบภายในคล้ายกับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่มีหน้าที่การทำงานหลักต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์- หน้าที่หลักของ Router
ทำหน้าที่รับข้อมูลแล้วส่งต่อไปยังปลายทาง โดยอาจส่งในรูปของ Packet ที่ ต่างออกไป เพื่อให้ผ่านสายสัญญาณแบบอื่น ๆ
-ส่วนประกอบภายในของ Router และหน้าที่หลักของส่วนประกอบภายใน
1. หน้า Quick Start สำหรับ Set Up ค่าต่าง ๆ ของเราท์เตอร์ เช่น Set New Password Router / Set Time Zone / Set Internet Connection / Restart Router
2. หน้า Interface Setup สำหรับ Set Up ค่าต่าง ๆ ของเราท์เตอร์ที่สำคัญเช่น VPI / VCI / ENCAP / USER / PASSWORD
- ขั้นตอนการทำงานตั้งแต่เริ่มเปิดเครื่อง
ขั้น ตอนที่1:รับข้อมูลเข้า(Input)  เริ่มด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ผ่านทางอุปกรณ์ Input ชนิดต่างๆ เช่น ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้คีย์บอร์ด เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง ถ้าเป็นการเขียนภาพจะใช้เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิค (Graphics Tablet) โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพ หรือ ใช้เครื่องสแกนเนอร์ สแกนข้อมูลเข้าไป เป็นต้น
ขั้นตอนที่2:ประมวลผลข้อมูล(Process)  เมื่อนำข้อมูลเข้ามาแล้ว เครื่องจะดำเนินการประมวลผลกับข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับมาเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ โดยการประมวลผลอาจจะมีได้หลายลักษณะ เช่น นำข้อมูลมาหาผลรวม นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม นำข้อมูลมาหาค่ามากที่สุด หรือน้อยที่สุด เป็นต้น และในส่วนของการประมวลผลจะทำการร่วมกันกับหน่วยความจำอีกด้วย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของการประมวลผล
ขั้นตอนที่3:แสดงผลข้อมูล(Output)  เป็นการนำผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงผ่านทางอุปกรณ์แสดงผลที่กำหนดไว้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะแสดงผ่านทางจอภาพ(Monitor) และยังสามารถแสดงผลด้วยการพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษโดยใช้เครื่อง พิมพ์(Printer)ก็ได้