วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

โครงสร้างลำดับขั้นการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย

          โครงสร้างลำดับขั้นการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย 

       Core Layer
                   เป็นจุดศูนย์กลางและหัวใจหลักของเน็ตเวิร์ก ทำหน้าที่เชื่อมต่อ Distribution Layer หลายๆตัวจุดเข้าไว้ด้วยกัน เลเยอร์นี้ควรสามารถรับส่งแพ็กเก็ตได้อย่างรวดเร็วมาก อย่างไรดีในบางเน็ตเวิร์ก อุปกรณ์ที่ทำงานในเลเยอร์ Core Layer กับ Distribution Layer อาจเป็นตัวเดียวกันก็ได้คือมีสวิตช์ตัวหลักหนึ่งตัวที่ทำหน้าที่เป็น Core Switch และมีสวิตช์ปลายทางหลายๆตัวทำหน้าที่เป็น Access Switch

                Distribute Layer
                           เป็นจุกรองรับการเชื่อมต่อจาก Access Layer หลายๆจุดเข้าด้วยกัน และผ่านต่อไปยัง Core Layer สำหรับ LAN และ Campus Network อุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในเลเยอร์นี้มักเป็นสวิตช์ที่มีประสิทธิภาพ มีฟีเจอร์ขั้นสูงพอสมควรและมีจำนวนพอร์ตมากพอสำหรับรองรับการเชื่อมโยงไปยังสวิตช์ที่ทำงานใน Access Layer สวิตช์ในเลเยอร์นี้ถือได้ว่าเป็นเสมือน จุดศูนย์รวม ของสวิตช์ต่างๆที่อยู่ในเลเยอร์ Access Layer เพื่อให้ผู้ใช้ที่เชื่อมต่อเข้ากับสวิตช์ใน Access Layer ตัวหนึ่งสามารถพูดคุยและสื่อสารกันกับผู้ใช้ที่เชื่อมต่อเข้ากับสวิตช์ตัวอื่นๆ ใน Access Layer ได้ภายในสวิตช์ที่อยู่ใน Distribution Layer นี้ควรมีการอิมพลีเมนต์ฟีเจอร์อย่างเช่น InterVLAN Routing ,Access Control List หรือรวมไปถึง QoS และ Policy ต่างๆในการใช้งานเน็ตเวิร์กด้วย สวิตช์ที่ทำงานในเลเยอร์นี้มักเป็นสวิตช์เลเยอร์ 3
-           Access Layer
                       จะเป็นเลเยอร์ที่ใกล้ชิดติดกับผู้ใช้มากที่สุด เป็นจุดที่นำเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เข้าสู่ระบบเครือข่าย สำหรับ LAN และ Campus Network อุปกรณ์ที่ทำงานอยุ่ในเลเยอร์นี้มักเป็นสวิตซ์เลเยอร์ 2 ตัวเล็กๆที่มีจำนวนพอร์ตที่เพียงพอต่อการรองรับการเชื่อมต่อจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ผ่านทางสายเคเบิล เช่น UTP สวิตช์ที่ว่านี้จำเป็นต้องมีพอร์ต UPLINK เพื่อเชื่อมโยงขึ้นไปนังสวิตช์ที่อยู่ในระดับ Distribution Layer หรือมีระดับ Core Layer (แล้วแต่การออกแบบ)ความเหมาะสมของอุปกรณ์ที่ทำงานในเลเยอร์นี้คือ ควรมีต้นทุนของอุปกรณ์ที่ต่ำ ยังไม่จำเป็นต้องมีฟีเจอร์ขั้นสูงมากนัก และควรติดตั้งได้ง่ายใช้เวลาไม่นาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น